วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

ค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด



1. โครงการ                        ค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด

2. ผู้รับผิดชอบ                นางสาวจุฑารัตน์  อุสาทรัพย์
                                               
3. มูลเหตุจูงใจและภูมิหลัง
            3.1 ค่ายวิทยาศาสตร์และกระบวนการคิด
                          การคิดเป็นกระบวนการทำงานของสมอง ที่เป็นไปตามธรรมชาติของมนุษย์ที่เกิดขึ้น อันเป็นผลจากประสบการณ์เดิม สิ่งเร้า และสภาพแวดล้อมที่เข้ามากระทบ ส่งผลให้เกิดความคิดในการที่จะแก้ไข ปรับตัวเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหา หรือปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งสามารถสร้างสิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นได้ การคิดเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรมเป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่อง และเป็นขั้นตอน การคิดมีหลายลักษณะซึ่งมีจุดมุ่งหมายและกระบวนการในการคิดแตกต่างกันซึ่งคนทุกคนสามารถฝึกฝนเรียนรู้และพัฒนาได้ ดังนั้นมนุษย์สามารถเรียนรู้ในการพัฒนาการคิดได้อย่างหลากหลายรูปแบบ
                     การจัดค่ายการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่จัดขึ้น เพื่อให้เกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียนผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย ซึ่งกิจกรรมที่จัดจะเน้นให้ผู้เข้าค่ายได้เผชิญปัญหา ฝึกการแก้ปัญหา ร่วมคิดร่วมทำ โดยใช้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นสื่อเพื่อสร้างองค์ความรู้และความคิดรวบยอด รวมทั้งให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น กระบวนการสังเกต ทดลอง เก็บรวบรวมข้อมูล  วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล   นอกจากนั้น กิจกรรมในค่ายยังเป็นกิจกรรมที่ฝึกการอยู่ร่วมกัน มีการทำงานเป็นทีมเป็นกลุ่ม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ฝึกความรับผิดชอบต่อตนเองและหมู่คณะ
                          จากความสำคัญของกระบวนการคิดและการจัดค่ายการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมการพัฒนาด้านต่าง ๆ ให้กับผู้เรียน ทางโรงเรียนวัดปลายนาและกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงได้จัดโครงการค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดขึ้น
3.2 การขับเคลื่อนนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
         มีนโยบายในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์
4. ผลความสำเร็จ
1.       นักเรียนเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากประสบการณ์ตรง โดยใช้แหล่งเรียนรู้จากสภาพจริงในบริเวณโรงเรียน
2.       นักเรียนได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการทางวิทยาศาสตร์กระบวนการคิด และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
                    3. ผลการประเมินโครงการค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด พบว่า
3.1ด้านสภาวะแวดล้อม (context evaluation) โดยจุดประสงค์ของโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทุกรายการ
                          3.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (input evaluation) ของโครงการค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดทุกรายการอยู่ในระดับมาก โดยความรู้ของคณะครูและวิทยากรมีความเหมาะสมมากที่สุดรองลงมาคือ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินโครงการ จำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ และงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินโครงการ ตามลำดับ
          3.3 ด้านกระบวนการ (process evaluation) ของโครงการค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด ทุกรายการอยู่ในระดับมาก โดยรูปแบบในการจัดค่าย กิจกรรมต่าง ๆ ในการจัดและความสนุกสนานในการจัดค่ายมีความเหมาะสมมากที่สุด
                          3.4 ด้านผลผลิต (product evaluation) ของโครงการค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด เกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจที่นักเรียนได้รับในทุกฐานการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก และการประเมิน เกี่ยวกับความพึงพอใจที่นักเรียนได้รับทุกรายการอยู่ในระดับมาก                   
5. ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ
                        5.1 วางแผนและนำเสนอโครงการ
                                5.2 ประชุมชี้แจงกับคณะครู
                                5.3 ดำเนินกิจกรรมตามแผนการดำเนินงาน โดยมีการจัดกิจกรรม ซึ่งประกอบด้วยฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ ดังนี้
                                      ฐานการเรียนรู้ เรื่อง นักสืบสายน้ำ
                                      ฐานการเรียนรู้ เรื่อง สายใยอาหาร           
                                      ฐานการเรียนรู้ เรื่อง นาฬิกาแดดและจรวดกระดาษพับ      
                                      ฐานการเรียนรู้ เรื่อง จรวดขวดน้ำ
                                      ฐานการเรียนรู้ เรื่อง กิจกรรมการทดลอง(Science Show)
                                5.4 ประเมินผลและสรุปโครงการ
6. ปัจจัยเกื้อหนุนที่นำไปสู่ความสำเร็จ
                        6.1 นโยบายและการส่งเสริมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1 ในโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
                                6.2 การบริหารจัดการของผู้บริหาร คณะครู ของโรงเรียนวัดปลายนา
                                6.3 การสนับสนุนเงินงบประมาณของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1
7. บทเรียนที่ได้รับ
                        การจัดค่ายวิทยาศาสตร์ต้องมีกิจกรรมที่หลากหลายและจัดอย่างต่อเนื่อง
8. แนวทางพัฒนาในอนาคต
                        การจัดค่ายวิทยาศาสตร์ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สามารถพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ
ของผู้เรียนได้ เช่น ทักษะกระบวนการคิด ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งควรมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายและต่อเนื่อง จะส่งผลให้ผู้เรียนที่พัฒนาทักษะต่าง ๆได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ข้อมูลต่าง ๆได้















ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์



ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์
             
วิทยาศาสตร์มีประโยชน์ต่อมนุษย์และมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ผลของการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวโยงกับความเจริญในด้านต่างๆ เช่น การแพทย์ การสื่อสารคมนาคม  การเกษตร การศึกษา การอุตสาหกรรม การเมือง การเศรษฐกิจ ฯลฯ สรุปได้ดังนี้
        1.
วิทยาศาสตร์ช่วยให้มีความสามารถในสังคม ในสังคมที่มีสิ่งแวดล้อมทางวิทยาศาสตร์ บุคคลที่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จะเป็นผู้มีความสามารถ และมีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนและสังคม
        2.
วิทยาศาสตร์ช่วยแนะแนวอาชีพ วิทยาศาสตร์ก่อให้เกิดอาชีพหลายสาขา และเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
        3.
วิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิดความเจริญทางร่างกายและจิตใจ การได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ อนามัย อาหาร การดำรงชีวิต จะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและมีสุขภาพแข็งแรง
        4.
วิทยาศาสตร์ช่วยให้เป็นผู้บริโภคที่สามารถ หมายถึง การตัดสินใจในการใช้สินค้าหรือบริการต่างๆ โดยอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์         5. วิทยาศาสตร์ช่วยให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจ
        6.
วิทยาศาสตร์ช่วยให้รู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นประโยชน์
        7.
วิทยาศาสตร์ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ
                    
ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวัน การที่เราจะอยู่ได้อย่างทันโลกและทันเหตุการณ์ จำเป็นต้องศึกษาหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ใหม่ อยู่เสมอ เพราะวิทยาศาสตร์มีประโยชน์เกี่ยวข้องกับชีวิต และเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างคุณภาพที่ดีแก่ชีวิต



เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Attitudes)



เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Attitudes) เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะต้องปลูกฝังให้เกิดขึ้น เป็นเสมือนตัวกำกับความคิด การกระทำ การตัดสินใจในการปฏิบัติงานทางวิทยาศาสตร์
             
ลักษณะของเจตคติทางวิทยาศาสตร์ แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
            
1. เจตคติที่เกิดจากการใช้ความรู้
              1.1
กฎเกณฑ์ ทฤษฎี และหลักการต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์
              1.2
การอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยถือผลที่เกิดจากการสังเกต ทดลอง ตามที่เกิดจริง โดยอาศัยข้อมูลองค์ประกอบที่เหมาะสม
     
      2. เจตคติที่เกิดจากความรู้สึก
           
2.1 กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์มุ่งที่ก่อให้เกิดความคิดใหม่ๆ เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติ คุณค่าสำคัญจึงอยู่ที่การสร้างทฤษฎี
           2.2
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์จะมีมากขึ้นถ้าได้รับการสนับสนุนจากบุคคล
           2.3
การเป็นนักวิทยาศาสตร์ หรือการทำงานที่ต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งที่น่าสนใจและมีคุณค่า
                         
  คุณลักษณะของบุคคลที่มีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ สรุปได้ดังนี้
        
1. มีเหตุผล
        2.
มีความอยากรู้อยากเห็น
        3.
มีใจกว้าง
        4.
มีความซื่อสัตย์และมีใจเป็นกลาง
        5.
มีความเพียรพยายาม
        6.
มีความละเอียดรอบคอบ


วิธีการทางวิทยาศาสตร์


วิธีการทางวิทยาศาสตร์
    
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการหาความรู้ ทั้งนี้อาจมีความแตกต่างกันบ้างในแต่ละสาขา แต่ในภาพรวมมีลักษณะคล้ายกัน สรุปเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
       
ขั้นที่ 1 การสังเกต หมายถึง การสังเกตโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส รวมถึงเครื่องมือช่วยขยายความสามารถของประสาทสัมผัส และมีการบันทึกข้อมูลต่างๆ ที่ได้อย่างเป็นระบบ
       
ขั้นที่ 2 การตั้งสมมุติฐาน หมายถึง การคาดคะเนล่วงหน้าของคำตอบของปัญหาที่ต้องการทราบ ทั้งนี้การตั้งสมมุติฐานเกิดจากการนำข้อมูลที่มาจากการสังเกตมาเป็นส่วนช่วย
       
ขั้นที่ 3 การทดลอง หมายถึง การดำเนินการตรวจสอบสมมุติฐาน โดยอาศัยการรวบรวมข้อมูลทั้งจากการสำรวจ การทดลอง หรือวิธีการอื่นๆ ประกอบกัน
       
ขั้นที่ 4 การสรุปผลการทดลอง หมายถึง การลงข้อสรุปจากผลการทดลอง ตรวจสอบผลจากการสรุป อาจเป็นส่วนที่ทำให้เกิดหลักการ กฎ ทฤษฎี 
 


เมื่อพิจารณาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยคำนึงถึงสภาพปัญหา สามารถระบุเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
        
ขั้นที่ 1 ระบุปัญหา
        
ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา
        
ขั้นที่ 3 ตั้งสมมุติฐาน
        
ขั้นที่ 4 สังเกตรวบรวมผล และ/หรือการทดลอง
        
ขั้นที่ 5 สรุปผลการสังเกต และ/หรือการทดลอง



       ขั้นตอนของวิธีการทางวิทยาศาสตร์อาจมีการจัดเรียงลำดับสลับกันได้บ้าง การแก้ปัญหาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ อาจต้องอาศัยสิ่งต่างๆ ช่วย ได้แก่ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Science Process Skill) และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Attitudes)