วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สวนพฤษศาสตร์

งานสวนพฤกษศาสตร์
     งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเป็นงานหนึ่งอยู่ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ภายใต้กิจกรรมที 7 การสร้างจิตสำนึก งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเริ่มมาจากการที่ สมเด็จพระเทพรัตนฯทรงมีพระราชดำริบางประการกับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชดังนี้
     การสอนและอบรมให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชพรรณนั้น ควรใช้วิธีการปลูกฝังให้เด็กเห็นความงดงาม ความน่าสนใจ และเกิดความปิติที่จะทำการ ศึกษาและอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป การใช้วิธีการสอนการอบรมที่ให้เกิดความรู้สึกกลัวว่า หากไม่อนุรักษ์แล้วจะเกิดผลเสีย เกิดอันตรายแก่ตนเอง จะทำให้เด็กเกิดความเครียด ซึ่งจะเป็นผลเสียแก่ประเทศในระยะยาว
      1. ขอบเขตการดำเนินงาน
          สามารถดำเนินการสวนพฤกษศาสตร์ในพื้นที่ของโรงเรียน โดยมีองค์ประกอบดังกล่าว เป็นสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน อีกทั้งใช้ในการศึกษาและเป็นประโยชน์ต่อเนื่องใน การเรียนการสอนวิชาต่างๆ ในโรงเรียนที่ใกล้ชิดกับชุมชนอาจขยายขอบเขตการศึกษาไปสู่ชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติใกล้เคียงกับโรงเรียนได้
      2. แนวทางการดำเนินงานงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
         
โรงเรียนและสถาบันการศึกษาได้มีสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเป็นฐานการเรียนรู้  เพื่อเข้าถึงวิทยาการ ปัญญาและภูมิปัญญาแห่งตน  ปฏิบัติตนเป็นผู้อนุรักษ์ พัฒนา สรรพชีวิต สรรพสิ่ง ด้วยคุณธรรม  ผู้บริหาร ครูและบุคลากร เข้าถึงสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ทั้งปรัชญาการสร้างนักอนุรักษ์และบรรยากาศสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน  ปฏิบัติงาน เป็นหนึ่งระดับมัธยมศึกษา  เรียนรู้โดยตน มีวิทยาการของตน  โดยธรรมชาติแห่งชีวิต สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว
      3. เป้าหมาย
          ให้มีโรงเรียนเป็นแบบอย่างของการมี การใช้ศักยภาพ สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนอย่างเหมาะสมให้นักเรียน นักศึกษาได้เรียนรู้ ทุกสาขาวิชา  ในลักษณะบูรณาการวิทยาการและบูรณาการชีวิต จากปัจจัยศักยภาพสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน การดำเนินงานมุ่งสู่ประโยชน์แท้แก่มหาชน   มุ่งสู่กระแสปูทะเลย์มหาวิชชาลัย  บนฐานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 
      4. วิธีการดำเนินงาน
          องค์ประกอบ งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 
                    องค์ประกอบที่ ๑ การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้
                    องค์ประกอบที่ ๒ การรวบรวมพรรณไม้เข้าปลูกในโรงเรียน
                    องค์ประกอบที่ ๓ การศึกษาข้อมูลด้านต่างๆ
                    องค์ประกอบที่ ๔ การรายงานผลการเรียนรู้
                    องค์ประกอบที่ ๕ การนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา






คำอธิบายรายวิชา ว30225 ชื่อวิชา เคมีเพิ่มเติม

                                                                                      คำอธิบายรายวิชา
รายวิชา  ว30225   ชื่อวิชา เคมีเพิ่มเติม          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6                                  ภาคเรียนที่ 2/2556
น้ำหนักวิชา    1.5   หน่วยกิต              เวลาเรียน      3    ชั่วโมง / สัปดาห์                        จำนวน  60  ชั่วโมง
                 -------------------------------------------------------------------------------------
               ศึกษาพันธะคาร์บอน  เขียนสูตรของสารประกอบคาร์บอน  เขียนสูตรโครงสร้างไอโซเมอร์ของสารประกอบของคาร์บอนประเภทต่างๆ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่อิ่มตัวและไม่อิ่มตัว สารประกอบไฮโดรคาร์บอนแบบวงสารประกอบอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน สรุปสมบัติของสารประกอบคาร์บอน ซึ่งมีหมู่อะตอมที่แสดงสมบัติเฉพาะแต่ละประเภท  อธิบายการเกิดปิโตรเลียม การสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียม การกลั่นน้ำมัน การปรับปรุงคุณภาพของน้ำมัน การแยกก๊าซธรรมชาติ พร้อมทั้งยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ  เลขออกเทน เลขซีเทน ปิโตรเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี   พอลิเมอร์ มอนอเมอร์ พลาสติก เส้นใยธรรมชาติ เส้นใยสังเคราะห์ ปฏิกิริยาวัลคาไนเซชัน และภาวะมลพิษบอกความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของการผลิตผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์สังเคราะห์ ตลอดจนผลกระทบที่เกิดจากการผลิตและการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่มีต่อสิ่งแวดล้อม  บอกสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะมลพิษทั้งทางน้ำ ทางอากาศ และทางดิน วิธีป้องกันไม่ให้เกิดภาวะมลพิษ  ทำการทดลองเพื่อเตรียมพอลิเมอร การทดสอบสมบัติพลาสติก และการวิเคราะห์คุณภาพของน้ำโดยการหาปริมาณออกซิเจนในน้ำ อธิบายความหมายของอาหารในแง่ที่เป็นสารอาหารและสารชีวโมเลกุล  บอกแหล่งที่พบ,สมบัติ ,ปฏิกิริยาบางประการและวิธีทดสอบ ไขมัน โปรตีน เอนไซม์และคาร์โบไฮเดรต  บอกประโยชน์ของสารชีวโมเลกุลที่ใช้โดยตรงและที่นำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารชีวโมเลกุลบางชนิดทางอุตสาหกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ กระบวนการคิด กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการทดลอง การอภิปรายเพื่อให้เกิดความรู้  ความคิด  ความเข้าใจ   สามารถสื่อสารสิ่งที่รู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ   นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน  มีความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มีจิตวิทยาศาสตร์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน มีจิตสาธารณะ และอยู่อย่างพอเพียง
ผลการเรียนรู้
1.   มีความรู้ในเรื่องพันธะคาร์บอนและสามารถเขียนสูตรของสารประกอบคาร์บอนได้
2.   เขียนสูตรโครงสร้างไอโซเมอร์ของสารประกอบของคาร์บอนประเภทต่างๆได้
3.   อธิบายและทดลองเกี่ยวกับสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่อิ่มตัวและไม่อิ่มตัวได้
4.   บอกสมบัติของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน(แอลเคน แอลคีน แอลไคน์) มลพิษที่อาจเกิดขึ้นและการแก้ไข
5.   มีความรู้เกี่ยวกับสารประกอบไฮโดรคาร์บอนแบบวง   สารประกอบอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน และ อธิบายสมบัติบางประการได้
6.   สรุปสมบัติของสารประกอบคาร์บอน ซึ่งมีหมู่อะตอมที่แสดงสมบัติเฉพาะแต่ละประเภทได้
7.  อธิบายการเกิดปิโตรเลียม การสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียม การกลั่นน้ำมัน การปรับปรุงคุณภาพของน้ำมัน การแยกก๊าซธรรมชาติ พร้อมทั้งยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติได้
8.  อธิบายความหมายของปิโตรเลียม เลขออกเทน เลขซีเทน ปิโตรเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น อุตสาหกรรม
ปิโตรเคมีขั้นต่อเนื่อง พอลิเมอร์ มอนอเมอร์ พลาสติก เส้นใยธรรมชาติ เส้นใยสังเคราะห์ ปฏิกิริยาวัลคาไนเซชัน และภาวะมลพิษได้
9.  บอกความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของการผลิตผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์สังเคราะห์ ตลอดจนผลกระทบที่เกิดการผลิตและ
การใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
10. จำแนกประเภท   สรุปสมบัติประโยชน์ของพลาสติก  เส้นใย  และยางได้
11. บอกสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะมลพิษทั้งทางน้ำ ทางอากาศ และทางดิน วิธีป้องกันไม่ให้เกิดภาวะมลพิษได้
12. ทำการทดลองเพื่อเตรียมพอลิเมอร์ การทดสอบสมบัติพลาสติก และการวิเคราะห์คุณภาพของน้ำโดยการ
      หาปริมาณออกซิเจนในน้ำได้
13. อธิบายความหมายของอาหารในแง่ที่เป็นสารอาหารและสารชีวโมเลกุล พร้อมทั้งยกตัวอย่าง
14. บอกแหล่งที่พบ สมบัติ ปฏิกิริยาบางประการ และวิธีทดสอบ ไขมัน โปรตีน เอนไซม์และคาร์โบไฮเดรตได้
15. บอกประโยชน์ของสารชีวโมเลกุลที่ใช้โดยตรง และที่นำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารชีวโมเลกุลบางชนิดทางอุตสาหกรรมได้
                                                                                 หน่วยการเรียนรู้
                        รหัสวิชา  ว 30225     ชื่อวิชาเคมี     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6                       ภาคเรียนที่ 2
                     น้ำหนักวิชา  1.5  หน่วยกิต                      เวลาเรียน  3  ชั่วโมง/สัปดาห์           จำนวน  60  ชั่วโมง
หน่วยที่
ชื่อหน่วยการเรียนรู้
เวลา(ช.ม.)
คะแนน
1
เคมีอินทรีย์
1 พันธะของคาร์บอน
     -  การเขียนสูตรโครงสร้างของสารประกอบอินทรีย์
     -  ไอโซเมอริซึม
2 หมู่ฟังก์ชัน
3 สารประกอบไฮโดรคาร์บอน
     -   สมบัติบางประการของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
     -  ประเภทของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
4 สารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุออกซิเจนเป็นองค์ประกอบ
5 สารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ
6 สารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุออกซิเจนและไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ
20
40
2
เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ (ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี)
1 ถ่านหิน
-   การเกิดถ่านหิน                                          
- การใช้ประโยชน์จากถ่านหิน
2 หินน้ำมัน
   -  การเกิดหินน้ำมัน                      
   -  การใช้ประโยชน์จากหินน้ำมัน
3 ปิโตรเลียม
   -  การเกิดปิโตรเลียม                    
   -  การสำรวจปิโตรเลียม
   -  การกลั่นน้ำมันดิบ      
   -  การแยกแก๊สธรรมชาติ
   -  ปิโตรเคมีภัณฑ์
4 พอลิเมอร์
   -  ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน                      
20
30
หน่วยที่
ชื่อหน่วยการเรียนรู้
เวลา(ช.ม.)
คะแนน

-  โครงสร้างและสมบัติของพอลิเมอร์
-  ผลิตภัณฑ์จากพอลิเมอร์                            
5 ภาวะมลพิษที่เกิดจากการผลิตและการใช้ผลิตภัณฑ์จากเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์                             


3
สารชีวโมเลกุล
1 โปรตีน
    -  กรดอะมิโนและพันธะเพปไทด์                          
    -  โครงสร้างของโปรตีน
    -  ชนิดและหน้าที่ของโปรตีน                                 
    -   เอนไซม์
    -   การแปลงสภาพโปรตีน
2 คาร์โบไฮเดรต
    -   ชนิดและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต            
    -   สมบัติและปฏิกิริยาของคาร์โบไฮเดรต
3 ลิพิด
    -  ไขมันและน้ำมัน
    - ฟอสโฟลิพิด                                            
    -  ไข                 
    -  สเตรอยด์
4 กรดนิวคลีอิก
    -  โครงสร้างของนิวคลีโอไทด์ DNA และ RNA
20
30
                                   รวม
60
100


คำอธิบายรายวิชาเคมีเพิ่มเติม ว30221 ชั้น ม.4


คำอธิบายรายวิชา
             รายวิชา   ว 30221  ชื่อวิชา  เคมี 1                   ชั้นมัธยมศึกษาที่ 4                   ภาคเรียนที่  2      
             น้ำหนักวิชา  1.5  หน่ายกิต               เวลาเรียน   3  ชั่วโมง/สัปดาห์       จำนวน  60   ชั่วโมง
                     ---------------------------------------------------------------------------------------
ศึกษา  วิเคราะห์แบบจำลองอะตอม  อนุภาคมูลฐานของอะตอม การจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานต่างๆ   แนวโน้มสมบัติบางประการของธาตุตามตารางธาตุ   สมบัติบางประการของสารประกอบของธาตุบางชนิด พันธะเคมี  แนวโน้มสมบัติของธาตุตามหมู่และตามคาบ วิธีหาเลขออกซิเดชันของธาตุในสารประกอบและไอออน   แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของสาร  การเกิดพันธะไอออนิก  สารประกอบไอออนิก สมบัติของสารประกอบไอออนิก  เกิดพันธะโคเวเลนต์  ชนิดพันธะ  ความยาวพันธะ พลังงานพันธะ    รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์    สภาพขั้วของโมเลกุล   แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์  สารโครงผลึกร่างตาข่าย  การเขียนสูตร  การเรียกชื่อ การเกิดพันธะโลหะ แนวโน้มสมบัติของธาตุในตารางธาตุและสารประกอบของธาตุ  สมบัติของธาตุหมู่ IA, IIA และ VIIA     สารประกอบคลอไรด์และออกไซด์ ตำแหน่งของธาตุไฮโดรเจนในตารางธาตุ  สมบัติของธาตุแทรนซิชัน    การเกิดสารประกอบของธาตุแทรนซิชันบางชนิด    ธาตุกัมมันตรังสี การสลายตัว ครึ่งชีวิตของธาตุกัมมันตรังสี  การนำไอโซโทปของธาตุกัมมันตรังสีไปใช้ประโยชน์    ทางด้านการแพทย์ การเกษตร   และอุตสาหกรรม  โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ กระบวนการคิด กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการทดลอง การอภิปรายเพื่อให้เกิดความรู้  ความคิด  ความเข้าใจ   สามารถสื่อสารสิ่งที่รู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ   นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน  มีความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มีจิตวิทยาศาสตร์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน  มีจิตสาธารณะ และอยู่อย่างพอเพียง
ผลการเรียนรู้                
1.  อภิปราย  อธิบาย  แบบจำลองอะตอม  อนุภาคมูลฐานของอะตอม การจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับ พลังงานต่างๆ   แนวโน้มสมบัติบางประการของธาตุตามตารางธาตุ   สมบัติบางประการของสารประกอบ ของธาตุบางชนิด   สมบัติของธาตุตามหมู่และตามคาบของธาตุในตารางธาตุ
2.  สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์และอธิบายการเกิดพันธะไอออนิก  สารประกอบไอออนิก สมบัติของ สารประกอบไอออนิก    การเกิดพันธะโคเวเลนต์  สมบัติของสารประกอบโคเวเลนต์  การเขียนสูตร และ การเรียกชื่อสารประกอบ  การเกิดพันธะโลหะ  และ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของสารประเภทต่าง ๆ
3.  สืบค้นข้อมูล  ทดลอง อภิปรายและเปรียบเทียบสมบัติของธาตุ และสารประกอบของธาตุหมู่ IA, IIA  และVIIA     ธาตุทรานซิชัน  ตำแหน่งของธาตุไฮโดรเจนในตารางธาตุ  ธาตุกัมมันตรังสี การเกิดกัมมันตรังสีและเขียนสมการแสดงปฏิกิริยานิวเคลียร์บางปฏิกิริยาและสามารถบอกการนำสาร กัมมันตรังสีมาใช้ประโยชน์ได้ 
หน่วยการเรียนรู้
                     รหัสวิชาว 30201                        ชื่อวิชา  เคมี  1    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่        ภาคเรียนที่  2
                     น้ำหนักวิชา 1.5  หน่วยกิต        เวลาเรียน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์           จำนวน 60  ชั่วโมง

หน่วยที่
ชื่อหน่วยการเรียนรู้
เวลา(ช.ม.)
คะแนน
1
อะตอมและตารางธาตุ
-            แบบจำลองอะตอม
-            ตารางธาตุ
20
30
2
พันธะเคมี
-            พันธะไอออนิก
-            พันธะโคเวเลนต์
-            พันธะโลหะ
20
40
3
สมบัติของธาตุและสารประกอบ
-            สมบัติของสารประกอบของธาตุตามคาบ
-            ปฏิกิริยาของธาตุและสารประกอบของธาตุตามหมู่
-            ตำแหน่งของธาตุไฮโดรเจนในตารางธาตุ
-            ธาตุแทรนซิชัน
-            ธาตุกึ่งโลหะ
-            ธาตุกัมมันตรังสี
-            การทำนายตำแหน่งและสมบัติของธาตุในตารางธาตุ
-            ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
20
30
                                                      รวม
60
100












วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556

แบบจำลองอะตอมของทอมสัน

แบบจำลองอะตอมของทอมสัน
  อะตอม ประกอบด้วย อนุภาคโปรตอนและอิเล็กตรอนกระจายอยู่ทั่วไปอย่างสม่ำเสมอ อะตอมในสภาพที่เป็นกลางทางไฟฟ้าจะมีจำนวนประจุบวกเท่ากับประจุลบ
 เซอร์โจเซฟ จอห์น ทอมสัน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ทำการศึกษาและทดลองเกี่ยวกับการนำไฟฟ้าของก๊าซโดยใช้หลอดรังสีแคโทด ได้ผลสรุปด้งนี้     ค่าอัตราส่วนประจุต่อมวลของอนุภาคลบหรืออิเล็กตรอน (e-) ซึ่งมีค่าคงที่เสมอไม่ขึ้นอยู่กับชนิดของก๊าซและโลหะที่ใช้ทำแคโทด

สรุปแบบจำลองอะตอมของทอมสัน   อะตอมมีลักษณะเป็นทรงกลม มีอนุภาคที่มีประจุบวก เรียกว่า โปรตอน อนุภาคที่มีประจุลบ เรียกว่า อิเล็กตรอน และจำนวนโปรตอนเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอนกระจายอยู่ทั่วไปในทรงกลม

แบบจำลองอะตอมของดอลตัน

แนวคิดในการพัฒนาแบบจำลองอะตอม
ในสมัยโบราณมีนักปราชญ์ชาวกรีกชื่อ ดิโคริตุส (Democritus) เชื่อว่าเมื่อย่อยสารลงเรื่ออย ๆ จะได้ส่วนที่เล็กที่สุดซึ่งไม่สามารถทำให้เล็กลงกว่าเดิมได้อีก และเรียกอนุภาคขนาดเล็กที่สุดว่า อะตอม ซึ่งคำว่า "อะตอม"(atom) เป็นคำซึ่งมาจากภาษากรีกว่า(atomas) แปลว่า แบ่งแยกอีกไม่ได้
      สสารทั้งหลายประกอบด้วยอนุภาคที่เล็กที่สุด จะไม่สามารถมองเห็นได้และจะไม่สามารถแบ่งแยกให้เล็กลงกว่านั้นได้อีก แต่ในสมัยนั้นก็ยังไม่มีการทดลอง เพื่อพิสูจน์และสนับสนุนแนวความคิดดังกล่าว
      แบบจำลองอะตอม (Atomic model) เป็นภาพทางความคิดที่แสดงให้เห็น รายละเอียดของโครงสร้างอะตอมที่สอดคล้อง กับผลการทดลองและใช้อธิบายปรากฏการณ์ ของอะตอมได้
แบบจำลองอะตอมของดอลตัน 
        อะตอมมีลักษณะทรงกลม และเป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งแบ่งแยกไม่ได้ และไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่หรือทำให้สูญหายไปได้         จอห์น ดอลตัน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นนักเคมีคนแรกที่เสนอแนวคิดเกี่ยวกับอะตอม ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้ ธาตุประกอบด้วยอนุภาคเล็ก ๆ หลายอนุภาค อนุภาคเหล่านี้เรียกว่า อะตอม ซึ่งแบ่งแยกและทำให้สูญหายหรือสร้างขึ้นใหม่ไม่ได้ อะตอมของธาตุ       ชนิดเดียวกันย่อมมีสมบัติเหมือนกัน มีมวลเท่าๆ กัน แต่มีสมบัติแตกต่างจากอะตอมของธาตุอื่น ๆ สารประกอบเกิดจากอะตอมของธาตุมากกว่า 1 ชนิด ทำปฏิกิริยากันในอัตราส่วนที่เป็นเลขลงตัวอย่างง่าย