วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

ความหมายของวิทยาศาสตร์

  ความหมายของวิทยาศาสตร์


                  จากการวิเคราะห์คำว่า “Science” ที่มีมาจากคำว่า Sientea ในภาษาลาติน แปลว่า ความรู้ (Knowledge) กล่าวได้ว่า วิทยาศาสตร์ คือ ความรู้ต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ นอกจากนี้ยังกล่าวได้ว่าวิทยาศาสตร์ คือ องค์ความรู้ที่มีระบบและจัดไว้อย่างมีระเบียบแบบแผนโดยทั่วไปกระบวนการหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (The Process of Science) ประกอบด้วยระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Attitude) 

           กล่าวโดยสรุป วิทยาศาสตร์ คือ องค์ความรู้ของธรรมชาติและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการสืบเสาะหาความรู้นั้นอาศัยการสังเกตเป็นพื้นฐาน
1.1
ประเภทของวิทยาศาสตร์
      
การแบ่งประเภทของวิทยาศาสตร์ มีการแบ่งหลายระบบ แต่ละระบบมีเหตุผลและหลักเกณฑ์ต่างๆ กัน และหากจำแนกตามธรรมชาติของวิชา สามารถจำแนกได้ 3 สาขา คือ
1)
วิทยาศาสตร์กายภาพ
2)
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
3)
วิทยาศาสตร์สังคม     วิทยาศาสตร์กายภาพ เป็นวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและปรากฏการณ์ต่างๆ ของทุกสิ่งทุกอย่างในโลกและจักรวาล ในส่วนของสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ เคมี ธรณีวิทยา และคณิตศาสตร์ ฯลฯ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เป็นวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและปรากฏการณ์ต่างๆ ของทุกสิ่งทุกอย่างในโลกและจักรวาล ในส่วนของสิ่งมีชีวิต เช่น ชีววิทยา สัตววิทยา ฯลฯ วิทยาศาสตร์สังคม เป็นวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ และพฤติกรรมของมนุษย์ที่รวมกันอยู่เป็นชุมชนหรือสังคม เช่น สังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ ฯลฯ ในส่วนวิทยาศาสตร์กายภาพและวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เมื่อพิจารณารวมกันแล้ว สามารถจัดแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (Pure Science) คือความรู้ความเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติที่เป็นไปตามกฎพื้นฐานของธรรมชาติ รวมทั้งปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ จัดเป็นความรู้ขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย กฎและทฤษฎีต่างๆ ตลอดจนความจริงหรือข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอดที่มาจากการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ของนักวิทยาศาสตร์ เนื่องจากความต้องการที่จะหาความรู้ด้านต่างๆ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science) คือ การนำองค์ความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ที่เป็นวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ มาประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์
             
วิทยาศาสตร์มีส่วนที่แตกต่างจากศาสตร์อื่นๆ ในส่วนที่ว่าการค้นคว้าหาความจริงทางวิทยาศาสตร์ ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทำการทดลองสรุป ตั้งสมมุติฐานและสามารถพิสูจน์ได้ ดังนั้นสิ่งที่เป็นวิทยาศาสตร์จะสามารถนำหลักฐานจากประสบการณ์มาประกอบได้วิทยาศาสตร์ไม่แท้ หรือวิทยาศาสตร์เทียม (Pseudo Science) ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ขาดกระบวนการที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงไม่สามารถก่อให้เกิดการเรียนรู้ข้อมูลใหม่ๆได้ จึงไม่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ได้ แต่พยายามที่จะโน้มน้าวหรือสร้างให้มนุษย์มีความเชื่อโดยขาดเหตุผล
 1.2
พัฒนาทางวิทยาศาสตร์พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน  ซึ่งมีเนื้อหาต่างๆ กันและมีความเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทั้งนี้ขอบข่ายของพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ในยุคต้นๆ อาจเกิดขึ้นจากการคิดค้น และการประดิษฐ์เครื่องมือ อาวุธ วิธีการหาอาหาร การเก็บรักษาอาหาร และการเพาะปลูก การจัดลักษณะและรูปแบบความเป็นอยู่ พัฒนาการทางภาษา การสื่อความหมาย การจดบันทึก ฯลฯ
             
วิทยาศาสตร์มีพัฒนาการตั้งแต่ยุคแรกเริ่มจนถึงปัจจุบันดังนี้
                                   
วิทยาศาสตร์ในสมัยกรีกยุคแรก จากหลักฐานที่อ้างอิงได้ บ่งชี้ให้เห็นว่ามนุษย์พยายามแสวงหาคำตอบและคำอธิบายเกี่ยวกับโลกที่เราอาศัยอยู่ คือรูปร่างลักษณะของโลกทางกายภาพ การโคจรรอบโลก ปรากฏการณ์ต่างๆ ของโลก รวมถึงดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ สืบเนื่องมาจากชนชาติอียิปต์และแอสซีเรียน ซึ่งการแสวงหาคำตอบเหล่านี้ จำเป็นต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ กลศาสตร์ ฟิสิกส์  ต่อมาความเสื่อมโทรมทางอารยะธรรมและความรุ่งเรืองของกรีกราวศตวรรษที่ 3 เป็นเหตุทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเคลื่อนย้ายถ่ายเทจากความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม เปลี่ยนจากกรุงเอเธนส์ไปอยู่ที่กรุงอะเล็กซันเดรียและยุโรป  ทั้งนี้อารยธรรมที่เรียกว่า เฮลูเลนิสติก ประกอบด้วย การแพทย์ ศัลยกรรม คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ เริ่มเสื่อมจนที่สุดศูนย์กลางการปกครองไปอยู่ที่กรุงโรม และเน้นที่ความก้าวหน้าทางด้านการทหาร และการปกครองเติบโตแทนที่ ต่อมากรุงโรมถูกรุกรานและแพ้สงครามกับพวกเปอร์เซีย ดังนั้นอาณาจักโรมันจึงเสื่อมสลาย ความรู้ทางด้านวิชาการและวิทยาศาสตร์ แทบไม่มีหลงเหลืออยู่เพราะถูกทำลายไปด้วย นักวิทยาศาสตร์ในยุคนี้ เช่น ยูคลิด (Euclid) อริสทารีซัส (Aristarchus) อาคีย์มีดิส ฯลฯ ในช่วงนี้ทางประวัติศาสตร์ เรียกว่า ยุคมืด” (Dark Age)
             
วิทยาศาสตร์ในยุคกลาง (Middle Age) ระหว่างศตวรรษที่ 9-11 ความรู้ต่างๆ ถูกจดบันทึกที่ยังเหลืออยู่ได้ถูกเปลี่ยนจากภาษากรีกไปเป็นภาษาอารบิก โดยไม่มีการค้นคว้าเพิ่มเติม และหลังจากศตวรรษที่ 11 ความรู้และภาษาอารบิกถูกแปลเป็นภาษาลาติน และบางส่วนแปลเป็นภาษาฮิบรู ทั้งนี้อารยธรรมของชาวอาหรับได้แผ่ขยายไปถึงสเปน โมร็อคโค อินเดีย ซึ่งในช่วงเวลานี้ความคิดและความเชื่อทางศาสนาก็แตกแขนงออกเป็นลัทธิ เช่น มุสลิม ยิว คริสเตียน
             
ศตวรรษที่ 15 มีการเดินเรือสืบค้นประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ซึ่งทำให้มีการค้นพบแผ่นดินและทวีปใหม่ๆ ต่อจากศตวรรษที่ 16 พัฒนาการทางด้านการเขียน การพิมพ์ การเขียนตำราเป็นไปอย่างกว้างขวางรวดเร็ว เมื่อค้นพบและสามารถประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ได้ การประสานร่วมมือกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์ที่อยุ่ในซีกโลกด้านตะวันออก กับซีกโลกตะวันตก ทำให้มีการส่งสาร ทำให้ความรู้และการสื่อสารแพร่หลายอย่างกว้างขวาง
             
ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างยุคกลาง (Middle Age) กับยุคปฏิรูป (Renaiseauce) ตัวอย่างของบุคคลในยุคนี้ เช่น เลโอนาโด ดาวินซี นิโคลัส เป็นต้น
             
วิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบัน เพิ่งเริ่มต้นเมื่อต้นสตวรรษที่ 17 โดยมีนักวิทยาศาสตร์  เช่น กาลิเลโอ (Galileo Galilei) เคปเลอร์ ( Kepler) นิวตัน (Newton) ลินเนียส (Linnueus) และในระหว่างศตวรรษที่ 17-18 เป็นการค้นพบที่เป็นรากฐานทางวิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบัน  ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ความก้าวหน้าและพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์เป็นไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทุกวิชา การค้นคว้าทดลอง การค้นพบประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ศตวรรษที่ 20 อาจเป็นยุคปฏิวัติทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกือบทุกสาขา      และมีการค้นพบ เอกซ-เรย์ (X-ray) การค้นพบกัมตภาพรังสี การค้นพบทฤษฎีสัมพันธภาพ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นรากฐานที่ทำให้มนุษย์ขึ้นสู่อวกาศ และกำลังแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ในกาแลกซี

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น