วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

ค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด



1. โครงการ                        ค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด

2. ผู้รับผิดชอบ                นางสาวจุฑารัตน์  อุสาทรัพย์
                                               
3. มูลเหตุจูงใจและภูมิหลัง
            3.1 ค่ายวิทยาศาสตร์และกระบวนการคิด
                          การคิดเป็นกระบวนการทำงานของสมอง ที่เป็นไปตามธรรมชาติของมนุษย์ที่เกิดขึ้น อันเป็นผลจากประสบการณ์เดิม สิ่งเร้า และสภาพแวดล้อมที่เข้ามากระทบ ส่งผลให้เกิดความคิดในการที่จะแก้ไข ปรับตัวเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหา หรือปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งสามารถสร้างสิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นได้ การคิดเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรมเป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่อง และเป็นขั้นตอน การคิดมีหลายลักษณะซึ่งมีจุดมุ่งหมายและกระบวนการในการคิดแตกต่างกันซึ่งคนทุกคนสามารถฝึกฝนเรียนรู้และพัฒนาได้ ดังนั้นมนุษย์สามารถเรียนรู้ในการพัฒนาการคิดได้อย่างหลากหลายรูปแบบ
                     การจัดค่ายการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่จัดขึ้น เพื่อให้เกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียนผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย ซึ่งกิจกรรมที่จัดจะเน้นให้ผู้เข้าค่ายได้เผชิญปัญหา ฝึกการแก้ปัญหา ร่วมคิดร่วมทำ โดยใช้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นสื่อเพื่อสร้างองค์ความรู้และความคิดรวบยอด รวมทั้งให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น กระบวนการสังเกต ทดลอง เก็บรวบรวมข้อมูล  วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล   นอกจากนั้น กิจกรรมในค่ายยังเป็นกิจกรรมที่ฝึกการอยู่ร่วมกัน มีการทำงานเป็นทีมเป็นกลุ่ม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ฝึกความรับผิดชอบต่อตนเองและหมู่คณะ
                          จากความสำคัญของกระบวนการคิดและการจัดค่ายการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมการพัฒนาด้านต่าง ๆ ให้กับผู้เรียน ทางโรงเรียนวัดปลายนาและกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงได้จัดโครงการค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดขึ้น
3.2 การขับเคลื่อนนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
         มีนโยบายในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์
4. ผลความสำเร็จ
1.       นักเรียนเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากประสบการณ์ตรง โดยใช้แหล่งเรียนรู้จากสภาพจริงในบริเวณโรงเรียน
2.       นักเรียนได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการทางวิทยาศาสตร์กระบวนการคิด และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
                    3. ผลการประเมินโครงการค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด พบว่า
3.1ด้านสภาวะแวดล้อม (context evaluation) โดยจุดประสงค์ของโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทุกรายการ
                          3.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (input evaluation) ของโครงการค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดทุกรายการอยู่ในระดับมาก โดยความรู้ของคณะครูและวิทยากรมีความเหมาะสมมากที่สุดรองลงมาคือ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินโครงการ จำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ และงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินโครงการ ตามลำดับ
          3.3 ด้านกระบวนการ (process evaluation) ของโครงการค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด ทุกรายการอยู่ในระดับมาก โดยรูปแบบในการจัดค่าย กิจกรรมต่าง ๆ ในการจัดและความสนุกสนานในการจัดค่ายมีความเหมาะสมมากที่สุด
                          3.4 ด้านผลผลิต (product evaluation) ของโครงการค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด เกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจที่นักเรียนได้รับในทุกฐานการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก และการประเมิน เกี่ยวกับความพึงพอใจที่นักเรียนได้รับทุกรายการอยู่ในระดับมาก                   
5. ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ
                        5.1 วางแผนและนำเสนอโครงการ
                                5.2 ประชุมชี้แจงกับคณะครู
                                5.3 ดำเนินกิจกรรมตามแผนการดำเนินงาน โดยมีการจัดกิจกรรม ซึ่งประกอบด้วยฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ ดังนี้
                                      ฐานการเรียนรู้ เรื่อง นักสืบสายน้ำ
                                      ฐานการเรียนรู้ เรื่อง สายใยอาหาร           
                                      ฐานการเรียนรู้ เรื่อง นาฬิกาแดดและจรวดกระดาษพับ      
                                      ฐานการเรียนรู้ เรื่อง จรวดขวดน้ำ
                                      ฐานการเรียนรู้ เรื่อง กิจกรรมการทดลอง(Science Show)
                                5.4 ประเมินผลและสรุปโครงการ
6. ปัจจัยเกื้อหนุนที่นำไปสู่ความสำเร็จ
                        6.1 นโยบายและการส่งเสริมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1 ในโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
                                6.2 การบริหารจัดการของผู้บริหาร คณะครู ของโรงเรียนวัดปลายนา
                                6.3 การสนับสนุนเงินงบประมาณของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1
7. บทเรียนที่ได้รับ
                        การจัดค่ายวิทยาศาสตร์ต้องมีกิจกรรมที่หลากหลายและจัดอย่างต่อเนื่อง
8. แนวทางพัฒนาในอนาคต
                        การจัดค่ายวิทยาศาสตร์ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สามารถพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ
ของผู้เรียนได้ เช่น ทักษะกระบวนการคิด ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งควรมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายและต่อเนื่อง จะส่งผลให้ผู้เรียนที่พัฒนาทักษะต่าง ๆได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ข้อมูลต่าง ๆได้















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น